รีวิว UOB Premier ยูโอบี พรีเมียร์ บัตรเครดิต คะแนนสะสม 4 เท่า เมื่อช้อปที่ห้าง

322

รีวิว UOB Premier ยูโอบี พรีเมียร์ อีกระดับของความพรีเมียม เรียกได้สิทธิประโยชน์จัดเต็มอัดแน่น ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ขาช้อป เพราะได้คะแนนสูงสุดที่ 4 เท่า ได้เงินคืน 5% กับซุปเปอร์มาร์เก็ตที่ร่วมรายการ แลกรับเครดิตเงินคืน 15% กับห้างสรรพสินค้าที่ร่วมรายการ ฯลฯ

สำหรับใครที่พอจะรู้ข่าวมาสักพักแล้วว่า Citi ในประเทศไทยได้ขายกิจการฝั่งธุรกิจที่เป็นบุคคลทั้งหมดให้กับ UOB ซึ่งต้องบอกเลยว่า Citi เป็นหนึ่งในธนาคารที่ทำบัตรเครดิตได้ออกมาดีมาก สิทธิประโยชน์ค่อนข้างสูงตอบโจทย์การใช้งานได้เป็นอย่างดี ซึ่ง UOB ได้ซื้อกิจการ Citi ไป ทำให้ UOB จำเป็นที่จะต้องออกบัตรที่มีสิทธิประโยชน์ใกล้เคียงกับ Citi Premier ออกมา นั่นคือ UOB Premier

เรียกได้ว่า UOB Premier และ Citi Premier เป็นฝาแฝดของกันและกัน ราวกับเอื้อย-อ้าย กาสะลอง-ซ้องปีบ มุตตา-มุนินทร์ กันเลยทีเดียว แต่ถึงจะเหมือนกันมากขนาดไหน แต่ก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่เล็กน้อยบ้าง เราลองไปดูสิทธิประโยชน์ของ UOB Premier โดยรวมกัน

รีวิว UOB Premier ยูโอบี พรีเมียร์ ในด้านของรูปลักษณ์ ความสวยงาม

รีวิว UOB Premier
ลวดลายแพทเทิร์นแบบนี้ดูสวยไปอีกแบบ

ด้านหน้าของบัตรเป็นลักษณะสีเงินเทา ภาพพื้นหลังมีลายแพทเทิร์นแบบโค้งมน ทำให้รูปลักษณ์ของบัตรดูหรูหรามากขึ้น โดยซ้ายมือด้านบนมีโลโก้ของ UOB สีขาวอยู่ ตรงกลางของบัตรนั้น มีการใส่คำว่า Premier ที่เป็นชื่อของบัตรลงไปด้วย โดยตัว P เป็นลักษณะของตัวเขียน ด้านขวามือล่างจะเป็นโลโก้ของ Mastercard ทำให้บัตรเครดิต UOB Premier ยูโอบี พรีเมียร์ เป็นบัตรที่ให้ภาพลักษณ์ดูหรูหรา ดูแพงขึ้นไปอีกขั้น

รีวิว UOB Premier ยูโอบี พรีเมียร์ ในด้านสิทธิประโยชน์

รีวิว ยูโอบี พรีเมียร์
อันนี้หันเข้าแสงก็สวยอยู่

สำหรับใครที่คุ้นกับสิทธิประโยชน์ของ Citi Premier มาแล้ว เรียกได้ว่า UOB Premier ก็แทบจะไม่แตกต่างกันเลย เช่น

  • รับคะแนนสะสมสูงสุดที่ 4 เท่า เมื่อใช้จ่ายในห้างสรรพสินค้าและร้านค้าปลอดภาษี
    ใครที่ชอบช้อปที่ห้างสรรพค้าและร้านค้าปลอดภาษีต้องปลื้มแน่นอน เพราะได้รับคะแนนถึง 4 เท่า จากปกติ ภายใต้ MCC Code 5311, 5309 สายเปย์ในห้างเรียกว่าคุ้มมาก ๆ ซึ่งโดยปกติของ คะแนน UOB Premier
  • รับคะแนนสะสม 2 เท่า ทุกการใช้จ่ายในประเทศ และสกุลเงินตราต่างประเทศ
    เรียกว่าเป็นบัตรเครดิตที่คุ้มมาก เพราะทุกการใช้จ่ายในประเทศไทย และการใช้บัตรที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศ ก็จะได้รับคะแนนสะสม 2 เท่า ไป อีก เรียกได้ว่าคะแนนกองกันเยอะมาก ๆ แต่ถ้าใช้ในห้างสรรพสินค้าและร้านค้าปลอดภาษี อันนี้ก็จะได้คะแนนสูงสุดที่ 4 เท่า เท่านั้น ไม่สามารถรับคะแนน 2 เท่าจากตรงนี้ได้อีก
  • สายช้อปในซูเปอร์มาร์เก็ตต้องว้าว เพราะคืนเงินที่ 5% กับร้านค้าที่ร่วมรายการ
    สำหรับการใช้จ่ายตั้งแต่ 800 บาท/เซลล์สลิป ขึ้นไป รับเงินคืนที่ 5% กับซูเปอร์มาร์เก็ตที่ร่วมรายการอย่าง Central Food Hall, Tops Supermarket, Gourmet Market, Home Fresh Mart, Villa Market และ Foodland Supermarket โดยจำกัดเงินคืนสูงสุดอยู่ที่ 500 บาท / เดือน / ผู้ถือบัตร รวมทุกซูเปอร์มาร์เก็ต
  • แลกรับเครดิตเงินคืนที่ 15% ที่สำหรับห้างสรรพสินค้าที่ร่วมรายการ
    ได้แต้ม x 4 เท่ายังไม่พอรับกันจุใจเพิ่ม แลกรับเครดิตเงินคืน 15% สำหรับการช้อปที่ห้างสรรพสินค้าในเครือเดอะมอลล์ เอ็มโพเรียม เอ็มควอเทียร์ และเซ็นทรัลทุกสาขา โดยเมื่อมียอดใช้จ่ายผ่านบัตรทุก ๆ 1,000 บาท / เซลล์สลิป จะใช้คะแนน UOB Rewards Plus ยูโอบีรีวอร์ดพลัส 1,000 คะแนน โดยสามารถแลกได้สูงสุดที่ 50,000 คะแนน รับเครดิตเงินคืน 7,500 บาท / ผู้ถือบัตร / รวมทุกห้างสรรพสินค้าที่ร่วมรายการ
  • แบ่งจ่าย 0% นาน 3 เดือนสำหรับการใช้จ่ายในหมวดแฟชั่น
    การใช้จ่ายตั้งแต่ 10,000 – 200,000 บาท ต่อเซลล์สลิป สามารถแบ่งจ่ายได้นาน 3 เดือน แบบ 0% ไม่มีดอกเบี้ย เฉพาะการใช้จ่ายในหมวดสินค้าแฟชั่นในหมวด MCC Code 5611, 5621, 5631, 5651, 5661, 5681, 5691, 5699, 5948, 5999 และ 5309 โดยจำกัดการทำรายการ 1 ครั้ง ต่อ 1 เดือน ต่อผู้ถือบัตร โดยต้องส่ง SMS เพื่อทำรายการก่อนตัดรอบบิล
  • รับเครื่องดื่มฟรีกับร้านค้า คาเฟ่ที่ร่วมรายการ เดือนละ 1 แก้ว
    โดยผู้ถือบัตรสามารถรับเครื่องดื่มฟรีได้ที่ร้านค้าที่ร่วมรายการอย่าง CPS Coffee, Dean & Deluca, Paul, TWG, PacamaraCoffee, Cafe Kitsune และ %Arabica โดยจำกัดอยุ่ที่ 6,000 สิทธิ์/เดือน เฉพาะเครื่องดื่มที่ร่วมรายการ โดยจำกัด 1 แก้ว/ผู้ถือบัตร (รวมบัตรหลักและบัตรเสริม)/เดือน/รวมทุกร้านค้า บอกเลยว่าสิทธิ์นี้ใช้ได้จริง แต่ว่าหมดเร็วมาก ไม่เกินวันที่ 5 ของเดือนสิทธิ์ก็แทบจะเต็มทั้งหมดแล้ว
  • ใช้ Miracle Lounge ที่สุววรณภูมิได้ 2 ครั้ง/ปี
    การใช้ห้องพักรับรองที่ Miracle Lounge ฟรี 2 ครั้ง/ปี รวมทั้งบัตรหลักและบัตรเสริม ได้ทั้งการบินในประเทศและบินระหว่างประเทศ
  • รับ Priority Pass เมื่อมียอดการใช้งานผ่านบัตร 1 ล้านบาทขึ้นไป ต่อปีปฏิทิน
    รับบัตร Priority Pass เมื่อมีการใช้งานบัตร UOB Premier ตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไปภายในปีปฏิทิน โดย Priority Pass มีอายุการใช้งานนาน 1 ปี
  • คะแนนจาก UOB Premier ในปัจจุบัน ไม่มีหมดอายุแล้ว
    สำหรับใครที่เคยติดภาพจำว่าคะแนนของบัตร UOB จะมีอายุแค่ 2 ปีเท่านั้น แต่สำหรับใบนี้เรียกได้ว่าไม่ใช่อีกต่อไป เพราะคะแนนที่ได้รับตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ที่ผ่านมาจะไม่มีวันหมดอายุอีกต่อไป (แต่ว่าคะแนนที่ได้ก่อนหน้านั้น จะยังคงมีวันหมดอายุอยู่ ดังนั้นรีบใช้คะแนนกันด้วยสำหรับคนที่ได้คะแนนมาก่อนหน้า 1 มกราคม 2567)
  • บริการที่จอดรถพิเศษในห้างสรรพสินค้า
    บัตรนี้ได้เพิ่มสิทธิพิเศษ โดยการมอบที่จอดรถที่ศูนย์การค้า เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน เดอะมอลล์ บางแค เดอะมอลล์ ท่าพระ และ เซ็นทรัลเวิลด์

จุดที่ควรพิจารณาของบัตรเครดิต UOB Premier

บัตรเครดิต ยูโอบี พรีเมียร์
ซื้อของทั่ว ๆ ไป ก็ยังได้รับคะแนน 2 เท่า
  • การแลกคะแนนเพื่อใช้ได้เครดิตเงินคืน 15% ที่ห้าง มีขั้นตอนที่ยากขึ้น เพราะต้องลงทะเบียนทุกครั้งที่ทำรายการ
    ถ้าเป็นบัตรฝาแฝดอย่าง Citi Premier นั้น แค่แจ้งพนักงานว่าจะใช้คะแนน พนักงานก็จะทำรายการให้เลย โดยที่เราไม่ต้องลงทะเบียนแต่อย่างใด และลดไปเลยที่ 15% แต่ถ้าเป็น UOB Premier นั้นจำเป็นที่จะต้องลงทะเบียนทุกครั้ง (ย้ำว่าทุกครั้งที่จะทำรายการ) โดยการส่ง SMS ไป และการแลกคะแนนต้องเป็นยอดใช้จ่ายในทุก ๆ 1,000 บาท ซึ่งจะใช้คะแนน UOB Rewards ทุก 1,000 คะแนน นั่นหมายความว่าเศษที่หารด้วย 1,000 ไม่ลงตัวก็จะไม่สามารถใช้คะแนนแลกได้ นับว่าเป็นข้อจำกัดที่มากกว่าทาง Citi Premier และกว่าจะได้เครดิตเงินคืนก็ใช้เวลาพอสมควร
  • สิทธิ์เครื่องดื่มฟรี หมดเร็วมาก
    อันนี้คือเรื่องจริงเลยว่าหมดเร็วเกิน ส่วนมากสิทธิจะใช้ได้แค่ช่วงต้นเดือนเท่านั้น ประมาณหลังจากวันที่ 5 เรียกได้ว่ามีโอกาสสูงมากที่จะเต็ม และอย่าลืมช่วงนี้ยังไม่ได้โอนจากบัตร Citi Premier มา ในอนาคต UOB Premier มีคนถือเยอะขึ้น รับโอนมาจาก Citi มากขึ้น การใช้สิทธิ์กาแฟฟรีก็จะหมดเร็วขึ้นไปอีก

ความแตกต่างระหว่าง UOB Premier และ Citi Premier ในด้านสิทธิประโยชน์

บัตรเครดิต UOB Premier
ตัวอักษรโลโก้ UOB กับ Premier มีความสะท้อนแสงนิดหน่อย

สำหรับใครที่มีบัตรเครดิต Citi Premier อยู่แล้ว อยากรู้ว่าบัตรที่เรามีอยู่กับ UOB Premier บัตรใหม่นี้แตกต่างกันอย่างไร ถึงจะเหมือนกันแค่ไหนก็มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง เช่น

  • การแลกรับเครดิตเงินคืน 15% Citi Premier ใช้ได้แบบไม่มีขั้นต่ำ UOB Premier มีขั้นต่ำ 1,000 บาท/เซลล์สลิป
    อันนี้จากใจคนที่ใช้งาน Citi Premier มานานพอสมควร เพราะชอบโปรโมชั่นนี้มาก สามารถสิทธิแลกรับเครดิตเงินคืน 15% ใช้ได้เลยที่เคานท์เตอร์ชำระเงินในเครือห้างสรรพสินค้าอย่างเซ็นทรัล และเครือเดอะมอลล์ และไม่มีขั้นต่ำ ไม่ว่าจะช้อปเท่าไรก็สามารถใช้แต้มเท่ามูลค่าสินค้าได้เลย แต่พมาเป็น UOB Premier ต้องมีขั้นต่ำที่ 1,000 บาท ต่อเซลล์สลิป แถมยังต้องส่ง SMS อีก ทำให้ใช้งานแลกแต้มรับเงินคืน 15% ทำได้ยากขึ้น
  • Citi Premier มีรับเครดิตเงินคืน 3% ที่ปั๊มน้ำมันเชลล์ และ สิทธิ์ซื้อตั๋วหนัง 69 บาท แต่ UOB Premier ไม่มี
    เป็นที่น่าเสียดายมาก สิ่งที่ Citi Premier มีรับเครดิตเงินคืน 3% ที่ปั๊มน้ำมันเชลล์ และสิทธิ์ซื้อตั๋วหนัง 69 บาท ที่โรงหนังเครือ SF แต่ทว่า UOB Premier ไม่มีสิทธิ์ทั้งสองอย่างนี้อีกแล้ว ใครที่ชอบดูหนังและเติมน้ำมันที่ปั๊มเชลล์ก็คงต้องผิดหวังไปตาม ๆ กับ

ค่าธรรมเนียมของบัตรเครดิต UOB Premier

  • ฟรีค่าธรรมเนียมรายปี ปีแรก
  • ค่าธรรมเนียมรายปีปีต่อไป 5,000 บาท (ยกเว้นอัตโนมัติเมื่อมีการใช้จ่ายบัตร 300,000 บาทขึ้นไปต่อปี)

คุณสมบัติผู้สมัคร UOB Premier

  • อายุ 20-80 ปี
  • รายได้ 30,000 บาท/เดือน ขึ้นไป
  • สำหรับพนักงานประจำ อายุงาน 4 เดือนขึ้นไป

สรุป รีวิว UOB Premier ยูโอบี พรีเมียร์ ดีไหม เหมาะกับใคร?

เหมาะมากกับสายช้อปในห้าง เพราะว่าได้คะแนน 4 เท่า รวมถึงการใช้งานทั่วไปก็ได้คะแนน 2 เท่า ปั่นคะแนนเร็ว และคะแนนก็นำไปเป็นเงินคืนได้อีก 15% เรียกว่าเป็นบัตรเครดิตที่ตอบโจทย์คนติดห้างมาก และพิเศษไปอีกที่ว่าคะแนนของบัตรเครดิต UOB Premier ก็ไม่มีวันหมดอายุแล้ว ก็สามารถสะสมคะแนนไว้ได้ยาวนานขึ้น น่าจะเรียกได้ว่าเป็นบัตรเครดิตสายห้างที่ตอบโจทย์ใครหลายคนมากทีเดียว

rabbitor.net

ติดตาม Social Media และเว็บไซต์ในเครือได้ที่นี่
Close
💚 เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่านได้เลย! เจอคอนเทนต์ที่ถูกใจอ่านจบแล้ว แชร์ให้ด้วยนะ💚
Close